การใช้สี เพื่อเป็นตัวสื่ออารมณ์มีมานานแล้ว จนในปัจจุบัน ทฤษฎีสีและอาหาร มีความสัมพันธ์กันอย่างมาก ซึ่มีผลต่อแทบจะโดยตรงเลยทีเดียว ซึ่งสี ไม่ได้มีอิทธิพรแค่ทางด้านระดับจิตวิทยาเท่านั้น แต่ยังส่งผลถึงระดับจิตสำนึกอีกด้วย ถ้าหากจับคู่และใช้สีอย่างมีประสิทธิภาพ จะส่งผลบวกทางด้านอารมณ์และรสชาติที่เชื่อมต่อกันจากการใช้สีที่ถูกต้องได้อีกด้วย
ความสัมพันธ์ของทฤษฎีสีกับวงการอาหาร
อย่างที่เราได้เท้าความไว้ว่า ทฤษฎีสีและอาหาร มีความเกี่ยวข้องกัน ในด้านกระตุ้นต่อมรับรส และความอยากอาหารต่าง ๆ แล้ว สียังมีผลต่อบรรยากาศของสถานทีอีกด้วย เรามาดูกันไปทีละส่วนว่า สีไหน มีผลต่อความอยากอาหาร ด้านการตลาด หรือด้านบรรยากาศร้านอาหารอย่างไรบ้าง
สีแดง
กระตุ้นความอยากอาหาร / ดึงดูดสายตา / รวดเร็ว
สีแดงเป็นสีหลักๆ ที่ กระตุ้นต่อมรับรสและความอยากอาหาร เราจะพบเห็นสีแดงได้บ่อยในจานอาหารเลยค่ะ ยกตัวอย่างเช่น อาหารเกาหลี ! ไม่ว่าจะเป็น ต็อกบกกี หรือ แกงกิมจิจิเก หรือจะเป็นไก่ตุ่๋นมันฝรั่ง (ทักบกกึม)
อีกทั้งสีแดง ยังถูกนำมาใช้เพื่อให้เกิดความสะดุดตา เพื่อดึงดูดความสนใจ โดยคอมบิเนชั่นที่ถูกนำมาใช้บ่อยๆ คือ สีเหลือง+แดง
สีแดงที่เราพบเห็นได้บ่อยๆ ในการตกแต่งร้านอาหาร ส่วนใหญ๋ มักจะเป็นร้านอาหารฟาสฟู้ด ที่มักจะตั้งอยู่ในปั๊มน้ำมัน จึงต้องอาศัยความเด่น และสะดุดตา และมองเห็นได้จากที่ไกลๆ เพราะอาศัยการ eye-catching เป็นหลัก ยกตัวอย่างแบบให้เห็นภาพเลย นั่นก็คือ ร้านไก่ทอดอย่าง KFC
สีเหลือง
กระตุ้นความอยากอาหาร / ดึงดูดสายตา / รวดเร็ว
สีเหลืองก็เป็นอีกหนึ่งสีที่สามารถกระตุ้นความอยากอาหารได้ดีมากๆ เช่นเดียวกับสีแดง และเป็นสีที่มีคุณสมบัติเทียบเท่ากับสีแดงได้ดีเลยทีเดียว โดยสีเหลืองที่เรามักจะพบเห็นในอาหาร มักจะเป็นของทอดตั่งต่าง ที่แสดงถึงความคริสปี้ หรือกรุบกรอบบบ
สีเหลืองที่เราพบเห็นได้บ่อยๆ ในการตกแต่งร้านอาหาร ส่วนใหญ่ มักจะเป็นร้านอาหารฟาสฟู้ด ที่มักจะตั้งอยู่ในปั๊มน้ำมัน จึงต้องอาศัยความเด่น และสะดุดตา และมองเห็นได้จากที่ไกลๆ เพราะอาศัยการ eye-catching เป็นหลัก ยกตัวอย่างแบบให้เห็นภาพเลย นั่นก็คือ McDonald’s
สีส้ม
กระตุ้นความอยากอาหาร / ถ่ายรูปสวย / สร้างบรรยากาศร้านอาหาร
สีแดงเป็นสีหลักๆ ที่ กระตุ้นต่อมรับรสและความอยากอาหาร เราจะพบเห็นสีแดงได้บ่อยในจานอาหารเลยค่ะ ยกตัวอย่างเช่น อาหารเกาหลี ! ไม่ว่าจะเป็น ต็อกบกกี หรือ แกงกิมจิจิเก หรือจะเป็นไก่ตุ่๋นมันฝรั่ง (ทักบกกึม)
อีกทั้งสีแดง ยังถูกนำมาใช้เพื่อให้เกิดความสะดุดตา เพื่อดึงดูดความสนใจ โดยคอมบิเนชั่นที่ถูกนำมาใช้บ่อยๆ คือ สีเหลือง+แดง
สีส้มนั้นสามารถพบได้ทั่วไปตามร้านอาหารเลยค่ะ เนื่องจากเป้นสีที่ช่วยให้อาหารมีความน่าทานมากยิ่งขึ้น เวลาที่ถ่ายรูปออกมา อาหารในรูปบวกกับแสงสีส้ม จะทำให้อาหารน่าทาน และสามารถเรียกลูกค้าที่พบเห็นได้ มักจะเจอสีส้มได้ตามไฟวอร์มไลท์ในร้านอาหาร ตามร้านปิ้งย่าง และตามร้านเหล้านั่งชิลล์ ที่ต้องอาศัยการแข่งขันกันสูงๆ สีส้มจึงเป็นสียอดนิยมของร้านอาหาร เป็นอย่างมากเลยค่ะ
สีน้ำตาล
สื่อถึงความเป็นธรรมชาติ /อบอุ่น / รู้สึกเหมือนอยู่บ้าน
สีน้ำตาลหรือสีแนวเอิร์ธโทนเป็นสีที่สื่อถึงความเป็นธรรมชาติ และมุ่งเน้นเพื่อให้ผู้รับทานรู้สึกอบอุ่น เป็นสีที่สื่อถึงความโฮมมี่ และสื่อถึงความเป็นธรรมชาติ โดยเรามักจะพบเห็นสีน้ำตาลจาก เมล็ดพืช ิอย่างเมล็ดกาแฟคั่ว เมล็ดโกโก้ แม้กระทั่งสเต็กเองก็ด้วย
นอกจากนี้ สีน้ำตาลยังนิยมใช้ในการตลาดแบบ ECO Friendly เพื่อสร้างภาพลักษณ์แบรนด์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ยกตัวอย่างเช่น ร้านอาหาร ที่หันมาใช้แพคเกจสีน้ำตาลที่ทำมาจากกระดาษย่อยสลายง่าย แทนการใช้โฟมหรือกล่องพลาสติก เป็นต้น
สีน้ำตาลกับการตกแต่งร้านอาหาร เรามักจะพบเจอได้ในร้านอาหารสไตล์ โอมากาเสะบ่อยๆ เพื่อสื่อถึงความเป็นธรรมชาติของวัตถุดิบที่เชฟหามาให้เราได้ทาน
และอีกที่หนึ่งความนิยมคือมักจะใช้ในร้านคาเฟ่ เพื่อความสบายตา และถ่ายรูปออกมาแล้วน่ารัก
สีโทนเย็น (ฟ้า น้ำเงิน ม่วง)
ลดความอยากอาหาร / มักใช้ในร้านที่ไม่ได้ขายอาหารเป็นหลัก
สีน้ำเงินหรือสีโทนเย็น เป็นสีที่ลดความอยากอาหาร และไม่กระตุ้นต่อมรับรสดๆทั้งสิ้น มักจะใช้ในกรณีที่ต้องการจะลดความอ้วน เพื่อควบคุมความอยากอาหาร และจะไม่ค่อยเจอสีนี้ในอาหารประเถทของคาวมากนัก แต่มักจะพบได้บ่อยในเครื่องดื่ม หรือของหวาน เป็นต้น
โดยสีน้ำเงินที่ใช้ในการตกแต่งร้าน มักจะพบได้ในร้านที่ไม่ได้เน้นการขายอาหารเป็นหลัก มักจะเป็นร้านที่เน้นขายเครื่องดื่ม ตามร้านเหล้า หรือบาร์ เป็นต้น
ด้วยเหตุผลที่ว่าทางร้านไม่จำเป็นต้องใช้แสงที่อบอุ่นหรือแสงที่สว่างในการทำให้สีอาหารนั้นน่าทาน แต่จะเน้นแสงสลัวและมืดไว้ก่อน เพื่อคุมโทนร้านให้เหมาะกับลูกค้าที่ต้องการ ไพรเวซี่ในการดื่มหรือสังสรรค์
write by : http://18.140.62.199/
facebook page : Veryfood